วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ดอกสารภี

ดอกสารภี
รักลารายล้อมสลับสี
ม่วงสนหมู่โศกสารภี
ลิ้นจี่ลำเจียกจิกจันทน์…"
วรรณคดี : "รามเกียรติ์"
ผู้ประพันธ์ : พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Ochrocarpus siamensis, T. And.
ชื่อสามัญ : Negkassar
ชื่อวงศ์ : Guttiferae
สารภีเป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ ๕ - ๑๐ เมตร มีอายุยืน ทรวดทรงของลำต้นตั้งตรง เรือนพุ่มใบดกหนา สีเขียวเข้ม ส่วนยอดเป็นพุ่มแหลม พบขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณและป่าดิบทั่วประเทศ เนื้อไม้สีน้ำตาลแกมแดง เสี้ยนตรงสม่ำเสมอ และถี่ เนื้อละเอียด แข็ง ค่อนข้างทนทานใบหนาแข็ง มียางสีขาว ลักษณะเป็นรูปไข่ยาว ปลายใบมนแหลม โคนใบแหลม มีสีเขียวเข้มเป็นมัน พุ่มใบตก ไม่ผลัดใบ ผลกลมยาวคล้ายลูกมะกอก ผลสุกสีเหลืองอร่าม มีขนาดเล็กกว่าลูกปิงปอกเล็กน้อย เนื้อในนุ่ม รับประทานได้ เปลือกหนา เมล็ดในแข็ง การขยายพันธุ์ ใช้วิธีเพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง คุณค่าด้านสมุนไพร ใช้ดองปรุงเป็นยาหอมชูกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงประสาท แก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น